นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา การค้า การบริการและการเงินได้ขยายตัวออกอย่างกว้างขวางอันเป็นผลมาจากการติดต่อสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว การแข่งขันทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นองค์หลายแห่งต้องปรับตัวกับสถานการณ์เพ่อเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการแข่งขันแนวทางหลักที่กระทำ คือ กระพัฒนาคุณภาพการผลิตสินค้า การบริการ และระบบการจัดการโดยนำเอาการจัดการคุณภาพมาใช้ แนวคิดเรื่องการจักกรคุณภาพพัฒนามาเป็นระยะๆจากการตรวจสอบคุณภาพ ไปสู่การควบคุมคุณภาพการประกันคุณภาพ และการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ(Total Quality Management) ปัจจุบันบริษัทใหญ่ๆ ได้เลือกใช้การจัดการคุณภาพเป็นกลยุทธ์หลักในการบริหาร
เหตุผลหลักที่ทำให้คุณภาพมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเพราะอำนาจการเลือกซื้อสินค้าอยู่ที่ลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทางธุรกิจที่ขยายออกไปนั้น ได้ทำลายการกีดกันการค้าพรมแดนจนเกิดภาวะไร้พรมแดน ด้วยเหตุนี้ลูกค้าจึงมีความต้องการและความคาดหวังใหม่ๆ ลูกค้ากลายเป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะมีโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ฝ่ายลูกค้าเองก็เข้ใจข้อเท็จจริงจึงไม่ยอมเสียสิทธิของตนเอง
คุณภาพ (Quality) หมายถึง คุณสมบัติโดยรวมทางประโยชน์ใช้สอยและลักษณะจำเพาะของ
ผลิตภัณฑ์หรือการบริการ ที่แสดงออกถึงความสามารถในอันที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ระบุอย่าง ชัดแจ้งที่อนุมานจากสภาพการณ์และความเป็นจริงโดยทั่วไป
จากนิยามนี้โยงไปสู่ความเข้าใจ คำว่า คุณภาพ ในเชิงการค่านั้นมีบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อที่เรียกว่า ลูกค้า และผู้ขายที่เรียกว่า ผู้ส่งมอบ ทั้งผู้ขายและลูกค้าได้ตกลงกันว่าผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือการบริการให้ตรงตามข้อตกลงในการซื้อขายที่ได้กำหนดลักษณะต่างๆของสินค้าและการบริการนั้นๆ ถ้าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่งมอบ มีคุณลักษณะสอดคล้องและสามารถใช้งานได้ตรงตามที่กำหนดตามที่
ตกลงกันไว้ถือว่าผิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีคุณภาพ
คาโอรุ อิชิกาวา (Kaoru Ishidawa) ได้จักแบ่งคุณภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คุณภาพแบบย้อนหลัง (Backward Looking Quality) คือ ของเสีย ตำหนิ และข้อบกพร่อง
2. คุณภาพแบบมองไปข้างหน้า (Forward Looking Quality) คือ สินค้าที่มีคุณสมบัติที่ดีจุด
ขายลักษณะดีอื่นๆ ซึ่งทำให้สินค้าเหนือกว่าสินค้าบริษัทอันนอกจากนั้นคุณภาพยังมีคุณสมบัติอื่นๆอีก เช่น แต่เดิมคุณภาพคือ ระดับการทำหรือการผลิตที่ได้มาตรฐาน เช่น ฝีมือหือผลิตภัณฑ์ทำได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยมุ่งให้ได้ตามที่ออกแบบหรือข้อกำหนด นอกจากนั้นยังหมายความรวมไปถึงการไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอีกด้วยคุณภาพของสิค้าหรือบริการจะต้องเป็นไปตามที่ลูกค้าต้องการ โดยที่สินค้าหรือบริการต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค่า สร้างความเชื่อมั่น ได้ว่าลูกค่าจะเลือกใช้สินค้าหรือบริการของบริษัทต่อไปการผลิตที่ทำให้เกิดความเสียหือของด้อยคุณภาพจะต้องมีวิธีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อป้องกันการเกิดข้อเสียหาย หรือลดจำนวนของเสียให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนั้นการสร้างจิตสำนึก และความรับผิดชอบด้านคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งในวิธีการทำงานของพลังงานทุกคนปัญหาของทุกองค์การก็คือ ทำอย่างไรจึงจะให้ผลผลิตและบริการมีคุณภาพ โดยการทำให้พนักงานมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบในด้านคุณภาพ พนักงานที่ดีจึงสามารถทำกำไรให้องค์การนั้นได้ในทุกสถานการณ์
คาโอรุ อิชิกาวา
วิวัฒนาการของคุณภาพ
การควบคุมคุณภาพเริ่มมีขันอย่างจริงจังในสหรัฐอเมริกาก่อนประเทศอื่นในช่วงระหว่างการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเกิดปัญหาด้านคุณภาพของยุทโธปกรณ์ทางด้านวัตถุระเบิดก่อนนำไปใช้ การ
ประกันคุณภาพของวัตถุระเบิดนั้นนับว่าเป็นธุรกิจยุ่งยาก ผู้รับสินค้าคนสุดท้ายไม่อยู่ในฐานะที่จะให้
ข้อมูลป้อนกลับในทันที ดังนั้น เมื่อเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการนำระบบการควบคุมคุณภาพ
มาใช้ โดยเฉพาะกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้นำเอาการควบคุมมาตรฐานไปสูการพัฒนา
ปรับปรุง มาตรฐานคุณภาพนี้ ก็คือ MIL-Q-9858A และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงญปุ่นได้เริมฟื้นฟูเศรษฐกิจของสภาพที่แพ้สงครามมาพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการผลิตสินค้าออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ
สินค้าของญี่ปุ่นไดแพร่กระจายออกสูตลาดโลกเป็นจำนวนมาก และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ในลักษณะที่เป็นสินค้าราคาถูก และไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าที่ควร ลักษณะดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นทำทุกวิถีทางที่จะพัฒนาเทคนิคการบริหารงาน เพื่อให้เกิดคุณภาพขึ้น โดยในปี ค.ศ.1949 ญี่ปุ่นได้จัดตั้งสหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรญี่ปุ่นโดยใช้ชื่อว่า “Japanese Union of Scientists and Engineers” ขึ้น ชื่อย่อ JUSE เพื่อเป็นหน่วยงานที่เผยแพร่หลักวิชาการเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ ในระยะแรกนั้นญี่ปุ่นได้อาศัยความรู้จากประเทศตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐอเมริกา โดยในปี ค.ศ.1950 JUSE ได้เชิญDr.W.Edwords Edming ซึ่งเชี่ยวชาญการควบคุมคุณภาพทางด้านสถิติมาบบรรณยายให้ผู้บริหารระดับสูง และวิศวกรของบริษัทอุตสาหกรรมใหญ่ของญี่ปุ่นได้ฟังแต่ก็ยังไม่ได้ผลมากนักจนกระทั้ง ในปีค.ศ. 1960 JUSE ได้เชิญ Dr. J. M. Juran จากสหรัฐอเมริกามาบรรยายเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพแก่ ผู้บริหารระดับสูงและวิศวกรญี่ปุ่น และได้พัฒนามาเป็น QCC (Quality Control Circle) ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพต่อมา
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC ) เริ่มต้นจากไม่มีการตรวจสอบเลย ในสมัย
โบราณใช้การไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อซื้อสินค้าหรือแลกเปลี่ยนมักจะไม่มีการตรวจสอบเมื่อพบว่าไม่ดีก็เอามาคืน ต่อมาจึงได้มีการควบคุมคุณภาพตามลำดับ ดังนี้
1. การตรวจสอบ (Inspection) การตรวจสอบเริ่มมีมากขึ้น เพราะสินค้าและบริการเริ่มยุ่งยาก
สลับซับซ้อน เริ่มเกิดความไม่ไว้วางใจ จึงต้องมีการตรวจสอ
2. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control ) เป็นการใช้เทคนิคการปฏิบัติการตรวจสอบทีjมีการจด
บันทึก นำผลการบันทึกไปใช้ในการวิเคราะห์ความผิดพลาดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
3. การประกันคุณภาพ ( Quality Assurance ) เป็นการปฏิบัติกรทั้งหมดที่ผู้ผลิตเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยการนำหลักการป้ องกันมาใช้ องค์การผู้
ผลิตจะมีการควบคุมและปฏิบัติการสอดคล้องกับข้อกำหนด
แบบควบคุมคุณภาพ
การจัดการระบบคุณภาพ
ระบบคุณภาพ ( Quality System ) หมายถึง การดำเนินตามระบบการต่างๆประกอบด้วยกิจกรรมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายใต้โครงสร้างขององค์การ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยการกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและบุคลากร รวมทั้งการกำหนดความสัมพันธ์ของหน่วยงานและบุคลากรในองค์การ กระบวนการเหล่านี้ได้ดำเนินการตามข้อกำหนด ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติการต่างๆที่มีอยู่โดยผ่านการจักการ เพื่อให้บรรลุนโยบาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ
แผนผังแสดงระบบคุณภาพ
ระบบคุณภาพของแต่ละองค์การ ย่อมมีข้อจำกัดและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละ
1. ระบบควบคุม (Control System ) หมายถึง กลุ่มของกลไกซึ่งเป็นส่วนประกอบของระบบ
การควบคุม โดยได้ออกแบบเพื่อเพิ่มโอกาส ( ความน่าจะเป็น ) ที่จะทำให้สอดคล้ององกับมาตรฐานและจุดมุ่งหมายขององค์การ อาจแบ่งได้ดังนี้
1.1 ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ เป็นระบบควบคุมตัวเองสามารถวัดประเมินผลและสามารถ
แก้ไขภายในกระบวนการได้
1.2 ระบบควบคุมโดยไม่ใช้เครื่องจักร เป็นระบบควบคุมโดยใช้ความสามารถของบุคลากรใน
การปฏิบัติงานในการวัดผล การประเมินผลหรือแกไขกระบวนการควบคุม
ระบบควบคุมยังแบ่งออกเป็นระยะตามความแตกต่างของการปฏิบัติงาน ดังตัวอย่าง
แผนภูมิแสดงระยะการควบคุมคุณภาพ
1. กระบวนการควบคุม ( Control Process ) เป็นกระบวนการจัดการทำงานที่เกิดขึ้นจริงในองค์การ
เป็นการเปรียบเทียบการทำงานที่เกิดขึ้นจริงกับมาตรฐานและการบริหารเพื่อแก้ไขสิ่งที่แตกต่างจากมาตรฐาน
หรือแก้ไขมาตรฐานที่ไม่สมควรมีในขั้นตอนการควบคุม
การควบคุมงานประกอบด้วยลำดับขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1.1 กำหนดเป้าหมายของการควบคุมงานให้ชัดเจน
ว่าการดำเนินงานขององค์การหรือหน่วยงานนั้น มีวัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์รองเป็นอย่างไร มีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด กำหนดแล้วเสร็จหรือไม่
เพื่อใช้วัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นเป็นเครื่องมือแนะนำการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง
1.2 กำหนดเกณฑ์ควบคุมงาและมาตรฐาน
เกณฑ์ควบคุมงานนั้นหมายถึงมาตรฐานของงาน
สถิติข้อเท็จจริง
และอัตราส่วนต่างๆที่จะใช้ในการควบคุมงานให้เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยสั่งการและควบคุมให้ดำเนินไปภายในกรอบที่กำหนดไว้
การกำหนดเกณฑ์การควบคุมงานมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
Ø เกณฑ์ควบคุมงานควรจะกำหนดไว้ล่วงหน้า
โดยการกำหนดไว้เป็นสายลักษณ์อักษรหรือในรูปแผนผังก็ได้
Ø เกณฑ์ควบคุมงานควรมีลักษณะที่กะทัดรัด ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
Ø เกณฑ์คบคุมงานควรมีหลักการ
และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการพิจารณารายงานผลงาน ทำให้สามารถพิจารณาถึงผลได้ชัดเจน และควรมีการปรับปรุงเกณฑ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
Ø เกณฑ์ควบคุมงานจะต้องสอดคล้องกับแผนงานหลัก
และมีส่วนเกื้อกูลต่อการประสานงาน
มาตรฐาน ( Standard) เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการควบคุม
การวัดการเปรียบเทียบระดับปริมาณ หรือคุณภาพ ซึ่งใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่สามารถพิสูจน์ได้
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของการทำงาน
การกำหนดมาตรฐานที่ดีควรมีองค์ประกอบดังนี้
Ø มาตรฐานที่สร้างขึ้นต้องสร้างโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (
Scientific Method ) หรือมีหลักเกณฑ์ ที่เป็นรูปธรรม มาตรฐานที่สร้างขึ้นนี้
ต้องอาศัยข้อมูลและความรู้ที่ได้จากประสบการณ์มาประกอบกันเป็นหลักในการสร้างมาตรฐาน
Ø มาตรฐานต้องมียืดหยุ่น
มาตรฐานที่กำหนดขึ้นมานั้นอาจใช้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น สภาพแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนแปลงไป มาตรฐานก็ควรจะได้รับการปรับปรุงให้เข้ากับสภาพการณ์ที่มาตรฐานดำรงอยู่
Ø มาตรฐานจะต้องกำหนดให้เข้าใจได้ง่าย
การกำหนดมาตรฐานที่ยุ่งยากซับซ้อนมักจะทำให้ความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ไม่บรรลุผล เช่น
การกำหนดมาตรฐานไว้สูงเกินไปทำให้ยากต่อการปฏิบัติ
Ø มาตรฐานต้องอยู่ในรูปของหน่วยที่สามารถเปรียบเทียบได้ คุณค่าของมาตรฐานลดลงน้อยลงไป ถ้ามีหน่วยไม่จำกัดแน่นอนหรือคลุมเครือ
หน่วยที่ใช้เปรียบเทียบควรง่ายต่อการทำความเข้าใจและใช้ได้ทั่วๆไป และควรเป็นหน่วยที่ทุกคนในองค์การคุ้นเคย
มิฉะนั้นอาจนำไปสู่ความขัดแย้งหรือการเสื่อมคุณค่าของมาตรฐานได้
Ø มาตรฐานจะต้องมีความเที่ยงตรง
ถูกต้อง มีความคงที่
เพราะถ้ามาตรฐานของการปฏิบัติงานและมาตรฐานของคุณภาพ ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง การใช้มาตรฐานนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์
Ø มาตรฐานจะต้องเป็นเรื่องกว้างๆ
ครอบคลุมในทุกด้านของการปฏิบัติงานและยังเป็นเองที่ทุกคนในองค์การสามารถเข้าใจได้
Ø มาตรฐานต้องมีการรักษาวิธีการที่แน่นอน จะต้องมีการตรวจสอบอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดผลการทำงานที่ดี และเพื่อปรับปรุงการทำงาน![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhfYi3eWL5GDGByKa4EznqtfCQl7m2_OANNFuZVbDaxsoV_1xHJQ6-VW0QjxhG5WmF8wij4tzZb5-A439BTHaml0suC7uojMr36OwnFv0OxSGhyphenhyphenG20VisIVMGI65JkxQnKQY6KMt7MSQRhY/s1600/1jpg.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhfYi3eWL5GDGByKa4EznqtfCQl7m2_OANNFuZVbDaxsoV_1xHJQ6-VW0QjxhG5WmF8wij4tzZb5-A439BTHaml0suC7uojMr36OwnFv0OxSGhyphenhyphenG20VisIVMGI65JkxQnKQY6KMt7MSQRhY/s1600/1jpg.jpg)
การเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐานการนำผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนด การประเมินผลการปฏิบัติงาน ( Job
Evaluation )
และการวัดผลงาน ( Job
Measurement )
เป็นปัจจัยที่มีความความสำคัญมากในการควบคุมงาน
1. รูปแบบการควบคุม ( Control Type ) หมายถึง
ลักษณะการควบคุมคุณภาพกาดำเนินงานขององค์การแบงออกเป็น 2
ชนิดคือ
การควบคุเพื่อป้องกันและการควบคุมเพื่อแก้ไข
1.1 การควบคุมเพื่อป้องกันการควบคุมชนิดนี้เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า ( Input )
ระหว่างการปฏิบัติงานโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงระยะของการตรวจสอบ
ทำให้รับรู้ถึงการปฏิบัติงานว่าเป็นอย่างไร โดยการนำผลการปฏิบัติงานไปเปรียบเทียบกับเป้าหมายเพื่อจะได้ทราบว่าการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดหรือไม่ แม้ว่าในบางครั้งข้อมูลอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด
การควบคุมเพื่อป้องกันจึงเป็นการปรับตัวก่อนสิ้นสุดระยะการควบคุม
เป็นการค้นหาและกำหนดวิธีป้องกันไม่ให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ไม่พึงปารถนาขึ้น
การควบคุมเพื่อป้องกันและช่วยให้ผู้บริหารไม่ต้องรอจนกระบวนการปฏิบัติงานสิ้นสุดลงตามเวลาที่กำหนดจึงจะวัดผลการดำเนินงาน
ซึ่งมัดจะล่าช้าและอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้การควบคุมเพื่อป้องกัน เช่น
การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันมิให้สินค้าในการผลิตในแต่ละงวดมีคุณภาพต่ำลง เป็นต้น
1.2 การควบคุเพื่อการแก้ไข
การควบคุมชนิดนี้เกิดหลังจากการปฏิบัติงานสิ้นสุดลง
การควบคุมชนิดนี้จะใช้เมื่อผู้บริหารต้องการตรวจสอบผลการดำเนินงานเพื่อพิจารณาว่าในแต่ละขั้นตอนผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร
การควบคุมเพื่อการแก้ไขจึงเป็นการควบคุมที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อปรับปรุงสถานการณ์หลังจากที่การปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นลงตามกำหนดเวลาแล้ว และผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นแตกต่างไปจากข้อกำหนดไว้
ดังนั้นการควบคุมเพื่อการแก้ไขจึงมีจุดอ่อนอยู่ที่มักจะแก้ไขปัญหาใดไม่ทันกาลและถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะเกิดความเสียหายได้
โดยทั่วไปผู้บริหารมักจะใช้การควบคุมชนิดนี้กับเรื่องที่ไม่มีความสำคัญมากนัก
การจัดการคุณภาพ ( Quality Management ) หมายถึง การจัดการกระบานการต่างๆให้มีคุณภาพ เริมตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการผลิตและการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้า การจัดการกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่วนคำว่า “การจัดการ (Management )” หมายถึง การทำให้การบวนการทำงานหลักๆอยู่ภายใต้ความสามารถในการควบคุม มีสมรรถนะสูง และสามารถนำคุณภาพผสมผสานลงไปในกระบวนการจัดการต่างๆได้ การจักการคุณภาพมีแนวคิดหลัก 6 ประการ คือ
1. ลูกค้าและผู้ป้อนวัตถุดิบ (
Customer/Supplier Model )
การจัดการเป็นกระบวนการทุกอย่างต้องมุ่งไปที่ลูกค้า
สมาชิกทุกคนในองค์การเป็นทั้งผู้ป้อนวัตถุดิบลูกค้างานของแต่ละคนต้องเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ผู้ป้อนวัตถุดิบเป็นผู้ให้ปัจจัยนำเข้า ส่วนลูกค้าเป็นผู้รับผลผลิต ลูกค้าอาจเป็นคนนอกที่มาซื้อสินค้าๆหรือบริการ
หรือเป็นคนที่รอรับผลผลิตจากคนอื่นตามเส้นทางไหลเวียนของการบวนการทำงาน
2. ความสามารถในการควบคุมกระบวนการและมีสมรรถนะสูง
ถ้ากระบวนการอยู่ภายใต้การควบคุมก็จะทำให้ผลผลิตออกมาสม่ำเสมอและสามารถพยากรณ์ได้ ถ้ากระบวนการมีสมรรถนะสูง ผลผลิตที่ออกมาก็จะเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า และทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
3. การจัดการโดยข้อเท็จจริง (Management
by Facts ) คือ การดำเนินการทุกอย่างในกระบวนการอาศัยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ การปรับปรุงกระบวนการ การปรับปรุงสินค้าและบริการ หรือการหาทางเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า
4. การแก้ไขปัญหา ( Problem Solving )
การจัดการโดยข้อเท็จจริงต้องนำเอาข้อมูลมาจัดการ โดยใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆ เช่น
แผนผังวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ
ฮิสโตแกรม เป็นต้น ขั้นตอนของกระบวนการแก้ไขปัญหา ได้แก่
การวิเคราะห์สาเหตุ
การพัฒนาและประเมินทางที่เลือกที่เป็นไปได้ การลงมือเปลี่ยนแปลง การติดตามดูผลกระทบ และการแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
5. เศรษฐศาสตร์คุณภาพ ( Quality Economics ) การวัดผลประโยชน์จากการจักการคุณภาพทั้งองค์การ
โดยกาดูจากสัดส่วนของต้นทุคุณภาพซึ่งมีอยู่ ได้แก่ ต้นทุนการทำตาม และต้นทุนการไม่ทำตาม
5.1 ต้นทุนการทำตาม หมายถึง การลงทุนในการป้องกันและการประเมินผล เช่น
การลงมือแก้ปัญหา
การออกแบบใหม่ การคัดเลือกวัตถุดิบ
5.2 ส่วนต้นทุนการไม่ทำตาม
หมายถึง
ความล้มเหลวหรือปัญหาที่เกิดจากคุณภาพที่ไม่ดี เช่น
ของเหลือเศษ การทำงานซ้ำ หรือการถูกลูกค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
6. การมีส่วนเกี่ยวข้องและทีมงาน ( Involvement and Teamwork ) การจัดการคุณภาพทั้งองค์การจะเพิ่มขึ้นจากการมีส่วนเกี่ยวข้องและทีมงาน เพราะการปรับปรุงคุณภาพเป็นงานของคนทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงคนงานรายวัน เพื่อระดมความรู้ ความคิดและทรัพยากรต่างๆรวมทั้งความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
6. การมีส่วนเกี่ยวข้องและทีมงาน ( Involvement and Teamwork ) การจัดการคุณภาพทั้งองค์การจะเพิ่มขึ้นจากการมีส่วนเกี่ยวข้องและทีมงาน เพราะการปรับปรุงคุณภาพเป็นงานของคนทุกคน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงคนงานรายวัน เพื่อระดมความรู้ ความคิดและทรัพยากรต่างๆรวมทั้งความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาและปรับปรุงคุณภาพให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
แผนภูมิแสดงแนวคิดการจัดการคุณภาพ
แนวทางการจัดการคุณภาพ
แนวทางการจัดการคุณภาพ
จะสอดคล้องกับการจัดลำดับชั้นของการจัดการคุณภาพ
ความคิดในการจัดการคุณภาพมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เนืองจากองค์การแต่ละแห่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน และมีเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน ดีทมาร์
มันเกลส์ดอร์ฟ อธิบายว่า แนวคิดทางคุณภาพมี 3 แนวทาง คือ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการคุณภาพทั้งองค์การ
1. การควบคุมคุณภาพ ( Quality Control ) เป็นการตรวจสอบที่มีการจดบันทึก และนำผลการบันทึกไปใช้ไปวิเคราะห์ข้อผิดพลาดว่าเกิดเพราะอะไร
เพื่อกำหนดมาตรการตรวจสอบให้ดียิ่งขึ้นหรือแก้ไขต่อไป
การควบคุมคุณภาพจะมุ้งเน้นประสิทธิภาพของการทำงาน เครื่องจักร
อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีและระบบการบริหารงานลดการสูญเสียวัตถุดิบ/ผลผลิตและลดการสูญเสียเวลาการทำงาน
2. การประกันคุณภาพ
( Quality Assurance )
เป็นกลไกการป้องกันที่สำคัญ
มิให้เป็นเพียงการควบคุมคุณภาพ
แต่เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่ามีการควบคุมและปฏิบัติการสอดคล้ององกับข้อกำหนด การประยุคใช้ระบบประกันคุณภาพ จะต้องมีการกำหนดขั้นตอนและวิธีการทำงานการควบคุมกระบวนการอย่างถูกต้องและเป็นระบบ
การประกันคุณภาพ หมายถึง
การสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าในการที่จะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น การประกันคุณภาพการผลิตจะเกี่ยวกับการตรวจสอบ การควบคุมคุณภาพ
การประกันคุณภาพหลังจากที่ลูกค้าซื้อไปแล้ว
การประกันคุณภาพจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับกาควบคุมคุณภาพการผลิต โดยทั่วไปมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1.1 การกำหนดระดับคุณภาพ
จะถูกกำหนดจากความต้องการของลูกค้าและศักยภาพของหน่วยงานโดยผู้บริหารจะต้องประกาศนโยบายคุณภาพ
เพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อคุณภาพและถือเป็นเป้าหมายการบริหารคุณภาพของบริษัทผู้ผลิต
1.2 การกำหนดหน้าที่ด้านคุณภาพในแต่ละหน่วยงาน
แต่เดิมนั้นการจัดการด้านคุณภาพจะทำหน้าที่การตรวจสอบ เพื่อแยกของเสียออกจากของดี แต่ปัจจุบันเน้นการป้องกันมากกว่าการตรวจสอบคุณภาพควรอยู่ในทุกขั้นตอนของการทำงาน ดังนั้น
จึงต้องมีการกำหนดหน้าที่ด้านคุณภาพของบุคคลและหน่วยงานด้วยความชัดเจนเป็นระบบ
1.3 การจักทำมาตรฐานองค์การ เมื่อกำหนดมาตรฐาน จะต้องมีการอบรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจ
และปฏิบัติตามมาตรฐานยางถูกต้องรวมทั้งมีการทบทวน และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มาตรฐานสูงขึ้น
การควบคุมระบบการ เป็นการควบคุมกระบวนการผลิตไม่ให้เกิดสิ่งผิดปกติในกระบวนการ และควบคุมให้งานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
กราฟแสดงแนวทางการจัดการคุณภาพ
1. การจัดการคุณภาพทั้งองค์การ เป็นการเปลี่ยนจิตสำนึกจากการกระตุ้นจากภายนอกมาเป็นการพัฒนาคุณภาพด้วยตนเอง
โดยเปลี่ยนจากการตรวจสอบเอกสารมาเป็นการควบคุม
ปรับปรุงสินค้าและบริการให้เกิดคุณภาพอย่างแท้จริง โดยอาศัยแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว
ในส่วนของความตั้งใจการจัดการคุณภาพทั้งองค์การนั้นยังคงมีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป ดังจะเห็นได้จากการจัดโปรแกรมฝึกอบรมพนักงานทุกคนให้เข้าใจ ปฏิบัติตามหลักการจัดคุณภาพ
และมุ่งให้คุณภาพเกิดขึ้นในระดับต่างๆองค์การอาจเริ่มจากการใช้กลยุทธ์เชิงรับโดยให้ฝ่ายคุณภาพทำหน้าที่ควบคุม
ต่อมาก็เพิ่มการรับประกันกับลูกค้าและนำมาปฏิบัติตามเพื่อสร้างความเชื่อถือ
ในที่สุดก็ขยายไปสู่ทุกคนและทุกระดับทั้งองค์การ
พร้อมกับใช้คุณภาพเป็นกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
ประโยชน์ของการจัดการคุณภาพ
การจัดการคุณภาพทั้งองค์การเป็นแนวคิดผสมผสาน ทั้งในแง่ทฤษฎีองค์กาและการจัดการ การจัดการคุณภาพที่ประสบความสำเร็จย่อมทำให้สินค้าและบริการมีคุณภาพและประโยชน์ต่อองค์การ คือ
1. ทำให้องค์การมีภาพลักษณ์ที่ดี
องค์การที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพองค์การย่อมได้รับความเชื่อถือ ช่วยให้ขายสินค้าที่ผลิตออกใหม่ได้มากขึ้น ได้รับความเชื่อถือจากสถาบันการเงิน
2. เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด
สินค้าที่ขายได้มากเป็นผลมาจากการที่ลูกค้ารับรู้ว่าสินค้ามีการปรับปรุงคุณภาพ
3. ลดภาระค่าใช้จ่าย การผลิตสินค้าที่มีข้อผิดพลาด อาจก่อให้เกิดถาระชดใช้ค่าเสียหาย
การจัดการคุณภาพที่ประสบความสำเร็จจึงช่วยป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
4. ชื่อเสียงของประเทศ
การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพจะไม่จำกัดอยู่กับธุรกิจ
แต่จะส่งผลถึงการยอมรับและชื่อเสียงของประเทศ จะเห็นได้จากอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่นที่ปรับตัวจากการผลิตสินค้าราคาถูกและมีคุณภาพต่ำมาเป็นสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้าทั่วโลก
Quality Management
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น